การที่เรามีข้อมูลดีๆ ของเหล่าลูกค้าไว้ในกำมือถือก็เหมือนกับการที่เรามีขุมสมบัติกล่องยักษ์วางอยู่ตรงหน้า ซึ่งนั่นเป็นแต้มต่อที่ดีในการทำธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากที่เราจะได้ทราบข้อมูลเชิงลึกว่าลูกค้ามีความต้องการอะไร สนใจสินค้าหรือบริการประเภทไหนแล้วเรายังสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับใช้กับธุรกิจของเราได้อีกด้วย

บทความนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ Data และ Database ทำให้เห็นว่าข้อมูลพวกนี้สำคัญกับการบริหารตลาดในยุคของเราอย่างไร

database คืออะไร

Data คืออะไร?

Data คือข้อเท็จจริงที่ยังไม่ได้รับการประมวลผล หรือเรียกอีกอย่างว่าข้อมูลดิบ ตัวอย่างเช่น ชื่อ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลส่วนนี้เราไม่สามารถทราบได้เลยว่า ข้อมูลดิบดังกล่าวจะใช้สื่อในรูปแบบไหน หรือมีคำอธิบายเป็นอย่างไร จนกว่าจะผ่านขั้นตอนการจัดการข้อมูลก่อนนั่นเอง

Database คืออะไร? 

Database หรือ ฐานข้อมูล คือฐานการรวมข้อมูลของหน่วยต่างๆ เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบริการลูกค้า เพื่อเก็บเอาข้อมูลของแต่ละแผนกมาไว้ตรงกลางเพื่อให้ทุกทีมมาใช้ด้วยกันได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการวางแผนธุรกิจต่างๆได้

Data และ Database แตกต่างกันอย่างไร?

Data จะเป็นในเรื่องของการบันทึกเหตุการณ์ เก็บสถิติหรือการวิเคราะห์ข้อมูล ที่จะเป็นข้อมูลดิบและยังไม่มีการประมวลผลอีกทั้งยังเป็นข้อเท็จจริงที่ยังไม่มีการสรุป ในส่วนของ Database เป็นข้อมูลที่มีการจัดระเบียบแล้วเพื่อความสะดวกในการดึงข้อมูลไปวิเคราะห์หรือวางแผนงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่งอีกด้วย

วิวัฒนาการของ Database

Database ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 1960 โดยเริ่มจาก hierarchical และ network databases จนมาถึงปี 1980 มีการนำเอา object-oriented-databases (OODBMS) มาใช้งาน ซึ่งเป็นพื้นฐานของระบบ relation database ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ในอีกมุมหนึ่ง เราสามารถจัดแบ่งประเภทของ database ตามรูปแบบของชนิดข้อมูลได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร หรือ รูปภาพ บางครั้งก็อาจจะแบ่งตามความนิยมของ relational database เช่น distributed database, cloud database หรือ NoSQL database 

ประเภทของ Database ได้แก่ 

  • Relational Databases คือเนื้อหาของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ถูกจัดเรียงเป็นชุดของตารางที่มีแถวและคอลัมน์ การเข้าถึงข้อมูลที่มีโครงสร้างทำให้มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดย Relational database มักใช้ในระบบอีคอมเมิร์ซ แต่ข้อจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการใช้ Relational database คือการประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ ที่จะเน้นไปที่งานเชิงธุรกรรมที่ประมวลผลธุรกรรมจำนวนมากๆ ต่อนาที
  • Object-Oriented Databases คือแนวคิดในการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของวัตถุ (Object) โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและส่งข้อมูลเหล่านี้ไปยัง object ตัวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คล้ายกับการเขียนโปรแกรม ซึ่งฐานข้อมูลเชิงวัตถุเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจได้หลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลและความต้องการใช้งานของธุรกิจนั้นๆ
  • Distributed Databases คือฐานข้อมูลแบบกระจาย ประกอบด้วยไฟล์ตั้งแต่สองไฟล์ขึ้นไปที่กระจายอยู่ในฐานข้อมูลและสามารถกระจายไปทั่วเครือข่าย อาจอยู่ในที่เดียวหรือเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ซึ่งฐานข้อมูลแบบกระจายเหมาะกับธุรกิจที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เช่นธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจการเงิน ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น
  • Data Warehouses คือคลังข้อมูลเป็นฐานข้อมูลประเภทหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อการสืบค้นและการวิเคราะห์อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะ เป็นที่เก็บข้อมูลส่วนกลาง โดย Data Warehouses เหมาะกับธุรกิจทุกประเภทที่มีข้อมูลจำนวนมากและต้องการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจเช่น ธุรกิจสื่อ ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจการศึกษา และธุรกิจบริการ เป็นต้น
  • NoSQL Databases คือการระบุวิธีในการจัดรูปแบบข้อมูล input ทั้งหมด อนุญาตให้จัดเก็บและจัดการข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างและกึ่งโครงสร้าง ความแพร่หลายและความซับซ้อนของ applications ออนไลน์ ทำให้ NoSQL ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น NoSQL Databases เหมาะกับธุรกิจที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น ธุรกิจโซเชียลมีเดีย ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจเกม เป็นต้น
  • Graph Databases คือข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลกราฟโดยใช้ entities และความสัมพันธ์ Graph Databases เหมาะกับธุรกิจที่มีข้อมูลในรูปแบบของกราฟ เช่น ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการผลิต ธุรกิจสื่อ และธุรกิจบริการ เป็นต้น
  • OLTP Database หรือฐานข้อมูล OLTP คือฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์ที่รวดเร็วซึ่งสร้างขึ้นเพื่อจัดการธุรกรรมจำนวนมากจากผู้ใช้หลายคนในคราวเดียว ฐานข้อมูล OLTP เหมาะกับธุรกิจที่มีข้อมูลจำนวนมาก ที่ต้องการทั้งความถูกต้องของข้อมูลและต้องการประสิทธิภาพในการประมวลผลข้อมูล เช่น ธุรกิจสื่อ ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจการศึกษา และธุรกิจบริการ เป็นต้น
  • Open source databases คือระบบฐานข้อมูลที่เป็น open source สามารถมีฐานข้อมูล SQL หรือ NoSQL เป็น source code ได้ Open source databases เหมาะกับธุรกิจทุกประเภทที่มีความต้องการใช้ฐานข้อมูลและต้องการความยืดหยุ่นในการปรับแต่งแต่มีงบจำกัด เช่น ธุรกิจสตาร์ทอัพ ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ธุรกิจที่ต้องการความยืดหยุ่น
  • Cloud databases คือชุดของข้อมูลที่จัดระเบียบหรือไม่มีการจัดระเบียบซึ่งอยู่บนแพลตฟอร์มการประมวลผลบนคลาวด์ส่วนตัว สาธารณะ หรือไฮบริด เรียกว่าฐานข้อมูลคลาวด์ โมเดลฐานข้อมูลคลาวด์มีสองรูปแบบ คือ แบบดั้งเดิมและฐานข้อมูลในรูปแบบบริการ DBaaS (Database as a service) ซึ่ง DBaaS เป็นผู้ให้บริการที่จะจัดการด้านการบำรุงรักษาและการดูแลระบบ Cloud databases ให้เหมาะกับธุรกิจที่มีความต้องการใช้ฐานข้อมูล แต่ต้องการความยืดหยุ่นในการปรับขนาด ความปลอดภัยและความพร้อมใช้สูง ยกตัวอย่างเช่นธุจกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อาทิ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการผลิต ธุรกิจสื่อ และธุรกิจบริการ เป็นต้น

แล้ว Data และ Database สำคัญกับตลาดอย่างไร?

ตลาดยุคใหม่เป็นตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากตลาดในอดีต การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากปัจจัยต่างๆ มากมาย เช่น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การขยายตัวของประชากรโลก และความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดยุคใหม่เป็นอย่างมากคือความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย และปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีเหล่านี้ได้เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคไปอย่างมาก ผู้บริโภคในปัจจุบันสามารถเข้าถึงข้อมูลและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วผ่านช่องทางออนไลน์ ผู้บริโภคมีอำนาจในการเลือกที่มากขึ้น มีความต้องการสินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะตัว

อีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดยุคใหม่คือความเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อผู้บริโภคมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งในด้านอายุ เพศ เชื้อชาติ และความสนใจ ธุรกิจจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของตลาดยุคใหม่ส่งผลให้ธุรกิจทุกขนาดจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องมีการใช้กลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อเข้าถึงและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค กลยุทธ์การตลาดยุคใหม่ควรให้ความสำคัญกับผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง เน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภคและมุ่งเน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้บริโภค

ความสำคัญของ Data และ Database ที่มีต่อตลาด

1.      ช่วยให้เห็นภาพรวมของตลาดได้ซึ่งจะทำให้วางแผนการตลาดได้อย่างเต็มรูปแบบ

2.      ช่วยให้พัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

3.      ช่วยรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ

4.      ช่วยให้สื่อสารกับลูกค้าได้อย่างตรงจุด

5.      ช่วยให้ธุรกิจสามารถวัดผลประสิทธิภาพทางการตลาดได้อย่างแม่นยำ

การที่เรามีข้อมูลและฐานข้อมูลที่ดี เรียกได้ว่าเป็นแต้มต่อทางธุรกิจเลยก็ว่าได้ เนื่องจากในปัจจุบันตลาดมีหลากหลายรูปแบบ ฐานข้อมูลของลูกค้าจึงกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจทุกขนาด เพราะจะช่วยให้เราเข้าใจลูกค้าและความต้องการของลูกค้าได้อย่างมากขึ้น นำไปสู่การวางแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพมาก ซึ่ง Myket Pro สามารถช่วยคุณในการเก็บข้อมูลของลูกค้าไว้ในระบบได้ เป็นระบบที่มีความปลอดภัยซึ่งคุณไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลเหล่านั้นจะหายไปหรือถูกขโมย เพราะ Myket Pro เก็บข้อมูลบน cloud server ที่เป็นระบบความปลอดภัยอันดับ 1 ของโลก  หากคุณสนใจสามารถทดลองระบบฟรี ได้ถึง 30 วัน!

ที่มา :https://nipa.cloud/th/blog/database-clouddatabase  

https://www.geeksforgeeks.org/what-is-database/