แกะสูตรค้าขายร่ำรวย 3 เรื่องที่พ่อค้าแม่ค้าต้องรู้ บริหารทุนยังไงให้ไม่เจ๊ง

การค้าขายในสมัยนี้มีมากมายหลายรูปแบบซะเหลือเกิน ในยุคที่ใคร ๆ ก็ดูเหมือนจะเป็นพ่อค้าแม่ค้าได้ คุณเคยสงสัยกันไหมว่าทำไมร้านที่ดูเหมือนจะขายดีคนเข้าเยอะ สินค้าน่าสนใจ หรือแม้กระทั่งเป็นร้านที่อยู่ในกระแส พอผ่านไปพักนึง ร้านกลับอยู่ไม่รอดต้องปิดกิจการไปเฉย ๆ

เพราะการขายของแม้จะดูเหมือนไม่ยาก แต่โอกาสรอดก็มีไม่เยอะเช่นกัน และนี่คือ 3 ข้อสำคัญที่ Myket แกะสูตรมา รู้ 3 ข้อนี้ก่อนเริ่มต้นค้าขาย ลดโอกาสการเจ๊งยับได้แน่ ๆ

1.ต้นทุนไม่ได้มีแค่ของที่ซื้อมา อย่าลืมคิดค่าน้ำยาล้างจานด้วย


พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่มักจะติดกับดักตรงนี้ทำให้หลายคนยิ่งขายยิ่งจน เพราะลืมคิดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกิจการเข้ามา เช่น น้องแมวเทาเรารับซื้อผักสลัดมาในราคากิโลกรัมละ 20 บาท จากนั้นนำมาแยกใส่ถุงขายให้เป็นเมนูสลัดทูน่าแก่น้องแมวขาวในราคา 200 กรัม ในราคา 35 บาท น้องแมวเทาอาจจะยิ้มดีใจคิดว่าได้กำไรมาแล้วแน่ ๆ 15 บาท แต่พอขายแบบนี้ไปสักพัก น้องแมวเทายิ่งขายก็จะยิ่งจน เพราะลืมคิดไปว่ามันยังมีต้นทุนส่วนอื่น ๆ อีก เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าแรงตัวเอง ค่าใช้จ่าย ค่าล้างผัก ค่าน้ำสลัด ค่าเช่าแผง ค่าน้ำค่าไฟ ที่พอคำนวณออกมาแล้ว ต่อให้ขายดิบขายดี แต่พอมาทำบัญชีรายเดือนจริง ๆ กลับพบว่าไม่เหลือกำไรและบางทีอาจจะเข้าเนื้ออีกต่างหาก

ส่งฟรี ไม่ได้ส่งฟรี อย่าลืมต้นทุนซื้อกล่องด้วย

2.งดเชื่อ ขยันทวง

เหตุการณ์นี้มักเกิดขึ้นกับกลุ่มร้านค้าที่เริ่มมีชื่อเสียงและมีลูกค้าประจำหลายครั้งที่พ่อค้าแม่ค้าใจดีให้เครติดแก่ผู้ค้ารายย่อยหรือลูกค้าเพื่อรักษาฐานลูกค้าแต่กลายเป็นว่า เจ๊งยับ

เนื่องจากอาชีพค้าขายเป็นอาชีพที่ ‘กระแสเงิน – cashflow’ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เรามักจะเห็นกันบ่อย ๆ กับร้านค้าพรีออเดอร์ที่พ่อค้าแม่ค้าเหมือนมีลูกค้าหมุนเวียนมาซื้อหากันทุกวัน ส่งของทุกวัน แต่พ่อค้าแม่ค้าไม่ได้มีเงินติดตัวกันซ้ำยังมีปัญหาเรื่องค้างจ่ายค่าแรงงาน ค้างจ่ายผู้ผลิตหรือค่าเช่าสถานที่ ทำให้ต้องพึ่งพาเงินกู้ต่าง ๆ พัลวันกับดอกเบี้ยจากการยืมแทนที่จะได้กำไรก็กลายเป็นดอกเบี้ยแทน

เป็นกรณีศึกษาที่พ่อค้าแม่ค้าต้องให้ความสำคัญกับการบริหารกระแสเงินสดอย่างรอบคอบ เพื่อให้มีเงินสดเพียงพอต่อการดำเนินกิจการและชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างทันท่วงที หากมีกระแสเงินสดไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่สามารถขยายกิจการหรือลงทุนเพิ่มเติมได้ และต้องพึ่งพาเงินกู้จากสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่น ซึ่งอาจทำให้กิจการมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นและอาจนำไปสู่การล้มละลายได้

ลูกค้าประจำขอผ่อนของ ทำยังไงดี

3.เงินร้าน ไม่เท่ากับเงินเรา

สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ อาจมีความความเข้าใจผิดระหว่างเงินส่วนตัวกับเงินร้าน เมื่อขายของได้ก็นำเงินไปจับจ่ายใช้สอยเพราะคิดว่าได้เงินได้กำไรมาแล้ว แต่พอถึงจุดๆ หนึ่งก็จะพบว่า ‘เงินทุน’ ในกิจการนั้นหายไป หรือโชคร้ายยิ่งกว่าคือเผลอตกหล่นเรื่องภาษีเงินได้ถูกสรรพากรตรวจสอบรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นย้อนหลังและไม่สามารถแจ้งที่มาที่ไปของเงินบริษัทที่หายไปได้

ทำไมร้านค้าควรมีสองกระเป๋า

สรุป

🚩 เพราะฉะนั้นแล้วสำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่การทำธุรกิจ จึงควรจะแยกกระเป๋าเงินของร้าน ออกจากเงินส่วนตัว
นอกจากเรื่อง ต้นทุน , กระแสเงินสด, การบริหารเงินในธุรกิจที่พ่อค้าแม่ค้าต้องให้ความสำคัญแล้วยังมีเคล็ดลับเพิ่มเติมที่ช่วยให้การขายของประสบความสำเร็จได้อีก นั่นก็คือการสร้างแบรนด์และภาพลักษณ์ที่ดีให้กับร้านค้า การบริการลูกค้าอย่างใส่ใจ การทำการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าอยู่เสมอ