สัญญาแผงเช่าตลาด ถือเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบธุรกิจให้เช่า เพราะถ้าไม่มีการตกลงก่อนการทำสัญญาเช่าอาจเกิดปัญหาที่ดูแล้วยุ่งยากตามมาทีหลังก็เป็นได้ ดังนั้นการที่เราได้รู้ถึงการอัปเดตของสัญญาแผงเช่า จะเป็นข้อดีอย่างมากในการทำสัญญา อีกทั้งการทำสัญญาเช่ายังเป็นตัวช่วยในการกำหนดข้อที่ควรทำหรือไม่ควรทำระบุเอาไว้อย่างชัดเจน
บทความนี้เราจะทำให้ทุกท่านเข้าใจว่าสัญญาเช่าแผงตลาดเป็นอย่างไรและมีอะไรอัปเดตบ้างในปี 2024 นี้ ติดตามได้ในบทความนี้รู้ไว้ไม่เสียหาย
สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำสัญญาเช่า
1.สินค้าที่เราจะขายซ้ำกับตลาดข้าง ๆ หรือเปล่า?
หลักๆ เลยก็คือการที่เราต้องศึกษาถึงข้อมูลต่างๆ ก่อนที่จะตัดสินใจทำสัญญาเช่า ทั้งในเรื่องของข้อมูลที่ตั้งตลาด ในตลาดนั้นมีคู่แข่งทางการค้าของเรามากน้อยเพียงใด (ถ้าใช้ Myket ก็สามารถดูได้ตั้งแต่วันเลือกจองแผงว่าแผงค้าข้าง ๆ ขายอะไร)
2.หาข้อมูลว่าตลาดนั้นมีกฎระเบียบอะไรบ้าง และเงื่อนไขการเช่าคืออะไร
หากต้องการเข้าไปเปิดแผงขายของในตลาดแห่งหนึ่ง เราก็ต้องดูว่าเป็นตลาดนั้นมีลักษณะสัญญาเช่าแบบไหน เช่น เป็นสัญญารายวัน – รายเดือน มีค่าแรกเข้าหรือไม่มี ทั้งนี้ค่าเช่าจะขึ้นอยู่กับแผงค้าร้านค้าที่ผู้เช่ามีความประสงค์จะเช่า , ค่าเช่าสูงสุดกี่บาทต่อวัน โดยวิธีการทำสัญญาผู้ค้าที่สนใจสามารถเข้าไปสอบถามกับทางตลาดได้เลย
3.ส่วนกลางมีอะไรบ้างและเราต้องจ่ายค่าส่วนกลางไหม
ตลาดที่น่าเข้าไปค้าขายอาจพิจารณาได้จากปัจจัยต่าง ๆ เช่น
สิ่งอำนวยความสะดวกที่จะทำให้มีคนมาเดินตลาด
-มีที่จอดรถกว้างขวาง
-มีการทำความสะอาดสม่ำเสมอ
-มีการโปรโมตแผงค้าทางช่องทางต่าง ๆ
ทำเลที่ตั้ง
-ใกล้แหล่งชุมชน
-ใกล้โรงเรียน
-ใกล้มหาวิทยาลัยมหิดล
-สะดวกในการเดินทางไปตลาด
ทำไมถึงต้องทำสัญญาเช่า / สัญญาแผงเช่าตลาด
เพราะการทำสัญญาเช่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยกำหนดข้อตกลงและเงื่อนไขต่างๆ ของการเช่าระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่า ซึ่งในการที่ทำสัญญาเช่าจะมีประโยชน์กับผู้เช่าและผู้ให้เช่า เช่น
- สร้างความชัดเจนและยุติธรรมให้กับทั้งสองฝ่าย
ที่จะต้องระบุรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ขนาดและที่ตั้งของแผง ค่าเช่า ระยะเวลาให้เช่า เงื่อนไขการชำระค่าเช่า รวมไปถึงสิทธิ หน้าที่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่าอย่างชัดเจน
- ใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้
เพราะเป็นสัญญาที่ทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้
- ช่วยลดข้อโต้แย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
หากมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น สัญญาที่ทั้งฝ่ายผู้เช่าและผู้ให้เช่าได้ทำเอาไว้ จะสามารถนำมาใช้อ้างอิงเพื่อหาข้อยุติกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้
อีกทั้งการที่เราต้องรู้เรื่องสัญญาเช่าจะช่วยให้เราเข้าใจสิทธิและหน้าที่ทั้งในฐานะผู้ให้เช่าหรือผู้เช่าได้ดียิ่งขึ้น เช่น
- ได้รู้ว่าผู้เช่าหรือผู้ให้เช่ามีสิทธิและหน้าที่อะไรบ้าง
- สามารถปกป้องสิทธิของเราได้หากผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าผิดสัญญา
- ในฐานะผู้ให้เช่าจะสามารถกำหนดเง่ือนไขการเช่าที่เป็นประโยชน์ต่อเราได้ ในขณะที่ผู้เช่าสามารถหลีกเลี่ยงได้หากถูกเอาเปรียบจากผู้ให้เช่า
สัญญาแผงเช่าตลาด มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
จะมีด้วยกันอยู่ 3 ย่อหน้า ประกอบด้วย
*ย่อหน้าแรก ที่จะต้องใส่ข้อมูลส่วนตัวของผู้เช่าและผู้ให้เช่า เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ อายุ เลขบัตรประชาชนที่ต้องระบุด้วยว่าทำที่ไหน หมดอายุเมื่อไหร่ ออกด้วยใคร
*ย่อหน้าที่สอง เป็นระบุถึงข้อสัญญาที่ผู้เช่าและผู้ให้เช่าจะต้องทำตามข้อสัญญาที่เขียนเอาไว้ในสัญญา โดยข้อสัญญาที่ระบุเอาไว้จะเป็นสิ่งที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ทำการตกลงเอาไว้หรือเป็นข้อกำหนดที่มาจากฝ่ายผู้ให้เช่า เช่น ระยะเวลาในการเช่าว่าเช่าพื้นที่ไปถึงวันไหน เช่าเพื่อทำอะไร กำหนดวันชำระว่าจ่ายวันไหน และข้อกำหนดถึงการบอกเลิกสัญญาหากฝ่ายไหนทำผิดสัญญา
*ย่อหน้าสุดท้าย จะเป็นการลงลายมือชื่อของผู้เช่า ผู้ให้เช่า และพยานในการทำสัญญาเช่า เมื่อทั้งสองฝ่ายได้อ่านสัญญาและเข้าใจในข้อสัญญาเรียบร้อยแล้ว
ตัวอย่างหนังสือสัญญาเช่า
(ที่มารูป)
สรุป
เมื่อเราได้รู้ถึงข้อมูลเนื้อหาต่างๆ ที่อยู่ในสัญญาเช่าที่อัปเดตแล้ว เราจะได้ไม่ต้องถูกเอาเปรียบจากสัญญาเช่าที่มองว่ามันไม่ยุติธรรม ซึ่งสิ่งที่ควรต้องรู้ในสัญญาเช่าหลักๆ เลยนั่นก็คือ รายละเอียดของแผงเช่า ระยะเวลาในการเช่า สิทธิ หน้าที่ของผู้เช่าและผู้ให้เช่า สุดท้ายคือเงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญา ทั้งนี้การทำสัญญาเช่าในทุกๆ ครั้งควรมีการทำความเข้าใจหรือพูดคุยสื่อสารให้เข้าใจตรงกันเพื่อป้องกันการสื่อสารที่คลาดเคลื่อนในการทำสัญญาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และที่สำคัญอย่าลืมการทำสำเนาสัญญาไว้ทุกครั้ง
ช่องทางใหม่ในการทำ “สัญญาเช่าแผงเช่าตลาด”
Myket Pro โปรแกรมบริหารจัดการตลาดสด ตลาดนัด คอมมูนิตี้มอลล์ พื้นที่เช่า บริหารตลาดแบบมืออาชีพ ครบ จบ ในที่เดียว การันตีด้วยประสบการณ์กว่า 8 ปีในการพัฒนาระบบพื้นที่ปล่อยเช่า
ลงทะเบียนเพื่อทดลองใช้งานและดูตัวอย่างสัญญา ใช้ฟรีทุกฟังก์ชั่น 30 วัน รับเดโม่ระบบ Free