การบริหารตลาด ทั้งจะเป็นตลาดนัด ตลาดสด หรือคอมมูนิตี้มอลล์ ฯลฯ ไม่เพียงแค่การจัดการพื้นที่และผู้ค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดำเนินการทางด้าน ภาษี อย่างถูกต้อง

สำหรับเจ้าของตลาดไม่ว่าจะบริหารตลาดแบบเดิม หรือทำการเปิดตลาดใหม่อย่างน้อยต้องมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกิจตลาด เพื่อลดความเสี่ยงทางกฎหมายและเพื่อให้ธุรกิจดำเนินการได้ในระยะยาว

ในบทความนี้จะของพามาจะเจาะลึกเรื่องภาษี ที่เจ้าของตลาดนัดและตลาดสดควรรู้ พร้อมวิธีการจัดการภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ

ภาษี ที่เกี่ยวข้องกับตลาดนัดและตลาดสด

ทำธุรกิจตลาดนัด ตลาดสด ภาษีที่ต้องรู้มีอะไรบ้าง

การดำเนินธุรกิจตลาดนัดและตลาดสดเกี่ยวข้องกับภาษีหลากหลายประเภทที่เจ้าของตลาดต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติตาม โดยภาษีสามารถแบ่งออกเป็น 3 หมวดหลัก ดังนี้

ภาษี ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจตลาดนัด ตลาดสด

1.1 ภาษีเงินได้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: หากเปิดตลาดเป็นแบบบุคคลธรรมดา เจ้าของตลาดจะต้องชำระภาษีเงินได้ที่เกิดจากรายได้ของธุรกิจ เช่น ค่าเช่าพื้นที่ และรายได้จากบริการอื่น ๆ
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล: หากตลาดดำเนินธุรกิจในรูปแบบบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน เจ้าของต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามรายได้และกำไรของบริษัท

1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

  • หากรายได้รวมจากการดำเนินธุรกิจตลาดนัดหรือตลาดสดเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี เจ้าของตลาดจะต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • การจัดการ VAT: เจ้าของตลาดจะต้องจัดเก็บ VAT จากผู้ค้าและนำส่งกรมสรรพากร รวมถึงรายงานการจัดเก็บในแต่ละเดือน

1.3 ภาษีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน

  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: เจ้าของตลาดต้องชำระภาษีสำหรับที่ดินและอาคารที่ใช้ดำเนินธุรกิจ ซึ่งอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับพื้นที่และประเภทของสิ่งปลูกสร้าง
  • ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ: อาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม เช่น ค่าบำรุงรักษาพื้นที่ หรือค่าธรรมเนียมการใช้ทรัพย์สินสาธารณะ ในกรณีที่ตลาดตั้งอยู่บนพื้นที่ของรัฐ

การคำนวณภาษีและการรายงาน

การคำนวณและรายงานภาษีเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของตลาดต้องดำเนินการอย่างถูกต้องและโปร่งใส

2.1 วิธีการคำนวณภาษี

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: คำนวณจากรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย (ตามประเภทที่กรมสรรพากรกำหนด) โดยใช้อัตราภาษีแบบขั้นบันได
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล: คำนวณจากกำไรสุทธิของบริษัทในแต่ละปี โดยใช้อัตราภาษีที่กำหนด เช่น 20% ของกำไรสุทธิ
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): คำนวณจากรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ หักด้วยค่าใช้จ่ายที่มี VAT แล้วนำผลลัพธ์ไปจัดเก็บและนำส่งกรมสรรพากร

2.2 การจัดทำบัญชี

  • บันทึกข้อมูลรายรับ – รายจ่าย: เจ้าของตลาดควรทำบัญชีที่แสดงรายรับรายจ่ายอย่างชัดเจนและสามารถตรวจสอบที่มาที่ไปได้
  • รายงานภาษี: จัดเตรียมรายงานภาษีรายเดือนและรายปี เพื่อยื่นต่อกรมสรรพากรอย่างถูกต้องตามกำหนดเวลา

2.3 การยื่นภาษี

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: ยื่นภาษีปีละ 1 ครั้ง โดยสามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ของกรมสรรพากรได้
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล: ยื่นภาษีปีละ 2 ครั้ง คือแบบแสดงรายรับกลางปีและสิ้นปี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม: ยื่นรายงานการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทุกเดือน
ภาษี ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจตลาดนัด ตลาดสด

การจัดการภาษีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

เจ้าของตลาดสามารถบริหารจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคนิคดังนี้:

3.1 การใช้ระบบจัดการ ภาษี

  • ใช้โปรแกรมบัญชีหรือระบบจัดการภาษีออนไลน์เพื่อช่วยคำนวณภาษีและจัดเก็บข้อมูล
  • สร้างความโปร่งใสในการจัดเก็บและนำส่งภาษี ด้วยการใช้ระบบที่สามารถตรวจสอบได้

3.2 การวางแผนภาษี

  • ศึกษาสิทธิประโยชน์ด้านภาษี เช่น การลดหย่อนภาษี หรือการใช้เงินลงทุนในบางประเภทเพื่อหักค่าใช้จ่าย
  • วางแผนการใช้จ่ายภายในธุรกิจให้เหมาะสม เพื่อลดการเสียภาษีเกินความจำเป็น

3.3 จ้างที่ปรึกษาด้านภาษี

  • หากธุรกิจมีรายได้สูงและมีความซับซ้อนในการจัดการภาษี ควรจ้างที่ปรึกษาด้านภาษีหรือบัญชีเพื่อช่วยวางแผนและจัดการภาษีอย่างมืออาชีพ

ความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎหมายภาษี

การปฏิบัติตามกฎหมายภาษีช่วยลดความเสี่ยงทางกฎหมายและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจตลาดนัดและตลาดสด

4.1 ผลกระทบจากการไม่ชำระภาษี

  • โทษปรับทางการเงิน: หากเจ้าของตลาดไม่ชำระภาษีหรือชำระล่าช้า อาจถูกปรับและเรียกเก็บดอกเบี้ยเพิ่มเติม
  • การเสียชื่อเสียง: ธุรกิจที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอาจสูญเสียความไว้วางใจจากผู้ค้าและลูกค้า

4.2 การสร้างความน่าเชื่อถือ

  • การชำระภาษีอย่างถูกต้องช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตลาด
  • ผู้ค้าจะมีความมั่นใจในความโปร่งใสของเจ้าของตลาด และพร้อมที่จะร่วมธุรกิจในระยะยาว

เคล็ดลับการบริหารภาษีตลาดนัดและตลาดสด

เพื่อช่วยลดภาระงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารภาษี เจ้าของตลาดสามารถใช้เทคนิคเหล่านี้เข้ามาช่วยในการทำภาษีได้

  • วางแผนภาษีล่วงหน้าโดยคำนวณรายได้และค่าใช้จ่ายอย่างละเอียด
  • ใช้เทคโนโลยี เช่น โปรแกรมบริหารจัดการตลาด หรือระบบบริหารตลาด ที่ช่วยจัดการเรื่องเอกสารการทำภาษีได้ เช่น ระบบบริหารตลาด Myket Pro ช่วยทำเอกสาร ช่วยทำรายรับ – รายจ่าย ในธุรกิจได้ ช่วยให้ขั้นตอนการทำเอกสารเพื่อยื่นภาษีไม่ยุ่งยาก และประหยัดเวลาในการทำเอกสารลง
  • ติดตามข้อมูลและข่าวสารด้านภาษีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับตัวตามกฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
ทำเอกสารยื่น ภาษี ด้วยฟีเจอร์รายรับ - รายจ่าย Myket Pro

ภาษี สำหรับการตลาดนัดและตลาดสดเป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง และทั้งนี้ทั้งนั้นการบริหารจัดการภาษีอย่างมีประสิทธิภาพยังช่วยลดความเสี่ยงทางกฎหมาย และเพิ่มความมั่นคงให้กับธุรกิจ ยิ่งหากธุรกิจมีการวางแผนภาษีที่ดีและมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารงาน ก็ยิ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างธุรกิจตลาดให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

Myket Pro ตัวเลือกสำคัญที่เจ้าของธุรกิจเลือกใช้ในการบริหาร  เพราะเราเป็นโปรแกรมช่วยบริหารตลาด ที่คิดมาเผื่อเจ้าของตลาดโดยเฉพาะ ทั้งช่วยดูแลระบบการจ่ายเงิน ระบบการเก็บเงิน การออกบิลต่าง ๆ ไม่เพียงแค่นั้นยังช่วยดูแลเรื่องการจัดการแผงค้าภายในตลาดได้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นโปรแกรมบริหารตลาด คอมมูนิตี้มมอลล์ที่ตอบโจทย์เจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ มีฟีเจอร์ที่รองรับการทำงานของตลาด และคอมมูนิตี้มมอลล์โดยเฉพาะ ที่สำคัญเราคิดค้นและพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การทำงาน และการดูภาพรวมของธุรกิจง่ายและสะดวกสบายมากขึ้น

สำหรับเจ้าของตลาดอยากบริหารตลาดแบบมืออาชีพ
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน