ยอดขายขผู้ค้าตก ภัยเงียบที่เจ้าของตลาดต้องระวัง ยิ่งในยุคเศรษฐกิจมีความแปรผัน และพฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และยิ่งการแข่งขันจากทางออนไลน์เพิ่มขึ้นการค้าขายในตลาดก็ยิ่งลดลง

สำหรับเจ้าของตลาด “ผู้ค้า” เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงให้ตลาดอยู่รอด หากผู้ค้าขายดี ตลาดก็คึกคัก เจ้าของตลาดก็มีรายได้ แต่เมื่อไหร่ที่ ยอดขายผู้ค้าตก นั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายที่เจ้าของตลาดไม่ควรมองข้าม

แล้ว ยอดขายผู้ค้าตก มีผลกระทบอย่างไรต่อเจ้าของตลาด บทความนี้ตอบได้เลยว่า หากเมื่อไหร่ที่ยอดขายของผู้ค้าตก ส่งผลกระทบโดยตรงกับเจ้าของตลาดอย่างแน่นอน

ยอดขายตก

ทำไม ยอดขายผู้ค้าตก จึงส่งผลกระทบต่อตลอดและเจ้าของตลาดโดยตรง

สำหรับรายได้ของเจ้าของตลาดมีเข้ามา 4 ช่องทางหลัก อาทิ

1. ค่าเช่าพื้นที่: หรือค่าแผงค้าที่ผู้ค้าเช่าขายของ

2. ค่าส่วนกลาง: ค่าบำรุงรักษาพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นค่าทำความสะอาด ค่ารักษาความปลอดภัย เป็นต้น

3. ค่าเช่าสื่อโฆษณา: รายได้จากป้ายโฆษณาภายในตลาด

4. ค่าสาธารณูปโภค: ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าที่จอดรถ

  • เมื่อ ยอดขายผู้ค้าตก สิ่งตามมาและจะกระทบต่อเจ้าของตลาดโดยตรง คือ หากผู้ค้ามีรายได้ที่ลดลงหรือหากขายไม่ได้เลย ผู้ค้าก็ไม่สามารถจ่ายค่าเช่าได้จนอาจทำให้ผู้ค้าย้ายออก จึงเป็นเหตุผลที่จะทำให้เจ้าของตลาดขาดรายได้ หรือได้รายได้ที่ไม่สม่ำเสมอ
  • ตลาดเงียบหรือซบเซาเพราะผู้ค้าในตลาดลดลง เมื่อผู้ค้าไม่มีรายได้ ค้าขายไม่ได้ถึงเป้าจนต้องย้ายออก ส่งผลให้ตลาดเงียบ และทำให้ลูกค้าลดลง เปลี่ยนไปเดินตลาดอื่นแทน
  • ชื่อเสียงของตลาดลดลง เมื่อลูกค้าเริ่มลดลงตลาดเริ่มเงียบ ย่อมส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของตลาด ทำให้ยากที่จะดึงดูดผู้ค้าใหม่ ๆ เข้ามา
  • เมื่อเริ่มไม่มีผู้ค้า และไม่มีลูกค้าเข้ามาเดิน เจ้าของตลาดอาจต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพื้นที่ว่าง ค่าการตลาดเพื่อดึงดูดผู้ค้าและลูกค้าใหม่ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ตลาดซบเซา

ผลกระทบระยะยาวเมื่อ ยอดขายผู้ค้าตก

เมื่อยอดขายผู้ค้าตกต่ำและไม่ได้รับการแก้ไข จะนำไปสู่ปัญหาระยะยาว

  1. ผู้ค้าขาดทุน ผู้ค้าที่ไม่สามารถทำกำไรได้ จะเริ่มทยอยออกจากตลาด
  2. ตลาดขาดความหลากหลาย ทำให้ลูกค้าลดลง เมื่อร้านค้าลดลง ตัวเลือกสินค้าก็น้อยลง ลูกค้าก็ไม่เข้าตลาด
  3. เจ้าของตลาดขาดรายได้ ขาดเงินทุนในการปรับปรุง ทำให้เจ้าของตลาดไม่มีงบประมาณในการพัฒนาตลาด
  4. ตลาดเสื่อมโทรม ผู้ค้าไม่อยากขาย ลูกค้าไม่อยากเข้า ตลาดก็ยิ่งทรุดโทรมลงไป ทำให้ยิ่งซบเซามากขึ้น

ไม่อยากให้ตลาดขาดผู้ค้าและลูกค้าไม่อยากเข้ามาใช้บริการ เจ้าของตลาดต้องหมั่นใส่ใจและดูแลผู้ค้าในตลาดให้มากขึ้น โดยสามารถสังเกตได้จาก

  • ผู้ค้าบ่นเรื่องยอดขาย: เริ่มมีการพูดคุยถึงยอดขายที่ตกต่ำในกลุ่มผู้ค้า
  • การต่อรองค่าเช่า: ผู้ค้าเริ่มขอต่อรองค่าเช่า หรือขอผ่อนผันการชำระเงิน
  • สินค้าเหลือเยอะ: สังเกตเห็นว่าผู้ค้ามีสินค้าเหลือค้างสต็อกจำนวนมาก
  • ลดปริมาณ/คุณภาพสินค้า: ผู้ค้าเริ่มลดปริมาณสินค้าที่นำมาขาย หรือลดคุณภาพลงเพื่อลดต้นทุน
  • ปิดร้านบ่อย/มาสาย/กลับเร็ว: ผู้ค้าเริ่มไม่เปิดร้านตามเวลาปกติ หรือเปิดร้านน้อยวันลง
  • ป้ายประกาศเซ้ง: เริ่มมีป้ายประกาศเซ้งร้านค้าปรากฏขึ้น
ยอดขายตก

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายของผู้ค้า

อีกหนึ่งสิ่งที่เจ้าของตลาดต้องรู้ คือ ปัจจัยที่มีผลต่อยอดขายของผู้ค้าในตลาด 

  1. พฤติกรรมของผู้บริโภค: โดยส่วนใหญาเปลี่ยนไปซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภค เช่น การลดการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเศรษฐกิจผันผวน
  2. การแข่งขันจากช่องทางอื่น: ห้างสรรพสินค้า ตลาดออนไลน์ และร้านค้าที่มีทำเลที่ตั้งที่ดีกว่า อาจดึงดูดลูกค้าไปจากตลาดมากขึ้น
  3. ทำเลที่ตั้งและการเข้าถึง: ปัญหาการจราจร การขนส่งสาธารณะที่ไม่สะดวก หรือที่จอดรถไม่เพียงพอ ก็ส่งผลให้การเข้าถึงตลาดลดลง
  4. สภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก: ตลาดที่มีสภาพแวดล้อมไม่น่าดึงดูด ไม่สะอาด หรือขาดสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ก็มีผลต่อจำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการ

วิธีแก้ปัญหาเพื่อรักษาผู้ค้าและฐานลูกค้าไว้

รับฟังและพูดคุย: เปิดใจรับฟังปัญหาของผู้ค้า สอบถามถึงสาเหตุที่ทำให้ยอดขายตกหรือขาดรายได้

สำรวจความคิดเห็น: ทำแบบสอบถามหรือจัดประชุมกลุ่มย่อย เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ค้า

วิเคราะห์สาเหตุ: หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหายอดขายตก อาจเกิดจากปัจจัยภายในตลาด (เช่น การจัดผังตลาดไม่ดี, ค่าเช่าแพง, การบริหารจัดการไม่ดี) หรือปัจจัยภายนอก (เช่น สภาพเศรษฐกิจ, คู่แข่ง, พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป)

ปรับปรุงและพัฒนา:

  • ปรับปรุงสภาพแวดล้อม: ทำความสะอาด, เพิ่มแสงสว่าง, จัดระเบียบพื้นที่, ปรับปรุงห้องน้ำ ฯลฯ
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย: จัดโปรโมชั่น, จัดกิจกรรมพิเศษ, จัดตลาดนัดเฉพาะกิจ
  • ทำการตลาด: โปรโมทตลาดผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย, เว็บไซต์, ป้ายโฆษณา ฯลฯ
  • เสนอแนวทางช่วยเหลือ: พิจารณาปรับลดค่าเช่าชั่วคราว, ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ, หาสินเชื่อให้ผู้ค้า
  • หาพันธมิตร: ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือหาแหล่งเงินทุน

สร้างความสัมพันธ์ที่ดี: สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ค้า ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างเต็มที่

ปรับตัวให้ทันสถานการณ์: ติดตามข่าวสารและแนวโน้มของตลาดอยู่เสมอ ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค

ยอดขายของผู้ค้าในตลาดเรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อเจ้าของตลาดโดยตรงอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะในระยะสั้นหรือระยะยาว อีกทั้ง โดยผลกระทบที่เจ้าของตลาดจะได้รับไม่เพียงแค่รายได้ที่ลดลงแต่ยังส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในระยะยาว

เมื่อยอดขายของผู้ค้าตกและเจ้าของตลาดนิ่งเฉย ไม่ใส่ใจ หรือมองว่าเป็นเรื่องของผู้ค้า ตลาดอาจเสียความนิยมและสูญเสียรายได้จนไปถึงตลาดต้องปิดตัวลงก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นการร่วมมือกันระหว่างเจ้าของตลาดและผู้ค้าเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการรักษาตลาดให้อยู่รอดและเติบโตได้ในระยะยาว

สำหรับเจ้าของตลาด

ที่มองหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยบริหารตลาดให้เป็นมืออาชีพมากขึ้น Myket Pro คือตัวเลือกสำคัญที่หลายตลาดเลือกใช้ในการบริหาร  เพราะเราเป็นโปรแกรมบริหารตลาด ที่เราคิดมาเผื่อเจ้าของตลาดโดยเฉพาะ ทั้งช่วยดูแลระบบการจ่ายเงิน ระบบการเก็บเงิน การออกบิลต่าง ๆ ไม่เพียงแค่นั้นยังช่วยดูแลเรื่องการจัดการแผงค้าภายในตลาดได้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นโปรแกรมบริหารตลาดที่ตอบโจทย์เจ้าของตลาดรุ่นใหม่สุด ๆ มีฟีเจอร์ที่รองรับการทำงานของตลาดโดยเฉพาะ รองรับการทำงาน การบริหารตลาดโดยเฉพาะ ที่สำคัญเราคิดค้นและพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การทำงาน และการดูภาพรวมในตลาดง่ายและสะดวกสบายมากขึ้น

สำหรับเจ้าของตลาดอยากบริหารตลาดแบบมืออาชีพ
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน